นามบัตรถือว่าเป็นความประทับใจแรกที่คุณส่งมอบให้แก่ผู้รับ ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้า พาร์ทเนอร์ หรือ บุคคลอื่นๆ เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงตัวคุณ ธุรกิจของคุณ และภาพลักษณ์องค์กร นามบัตรที่ดีจะรวมรวบข้อมูลที่สำคัญของคุณไว้ ชื่อ และ ช่องทางการติดต่อจะถูกระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะทำให้นามบัตรของคุณโดดเด่นและเป็นที่ประทับใจตั้งแต่แรกเห็น นอกจากตัวอักษร และ ข้อมูลจะต้องมองเห็นได้ชัดและครบถ้วนแล้ว ยังต้องมีดีซายน์ที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นอีกด้วย
นอกจากนามบัตรพิมพ์สีหรือข้อความธรรมดาแล้ว ถ้าต้องการเพิ่มความ Premium เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้น เราขอแนะนำนามบัตรเทคนิคพิเศษ
นามบัตร เป็นธรรมเนียมของชาวตะวันตกที่ใช้ในการแนะนำตัวกับบุคคลทั่วไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ สยามได้เปิดประตูรับอารยธรรมตะวันตก อย่างเต็มที่กษัตริย์คู่ในรัชกาลนี้คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างแตกฉานทั้งสองพระองค์ และทรงสมาคมกับชาวต่างประเทศ จึงทรงรับธรรมเนียมใช้นามบัตรมาด้วย แต่ไม่มีหลักฐานว่าพระองค์ใดทรงพิมพ์พระนามบัตรขึ้นก่อน
พระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้น รศ.ดร. อรัญ หาญสืบสาย หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทาง การพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าทางคณะวิทยาศาสตร์ได้รับมอบพระนามบัตรของรัชกาลที่ ๔ มาจากครอบครัวของนายเรเน่ พรูเดนท์ ดา-กรอน ช่างภาพและนักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศส โดย นางฌอง สก็อตต์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ให้ความสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้พบเอกสารและจดหมายโต้ตอบระหว่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ กับนายดา-กรอน และมีพระนามบัตรแนบไปด้วยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ นางฌอง สก๊อตต์ จึงเป็นผู้ประสานงานกับครอบครัวดา-กรอน มอบสำเนาเอกสารต่างๆนี้ ให้กับพิพิธภัณฑ์เทคโ นโลยีทางภาพ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่าย
พระนามบัตรเป็นการพิมพ์โดยใช้ระบบตัวเรียง ซึ่งใช้ตัวอักษรหล่อจากตะกั่ว แล้วพิพม์ลงบนกระดาษแข็ง ประกอบด้วยตราสัญลักษณ์ประจำรัชกาล และพระนามตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ออกเสียงเป็นภาษาไทย พระนามในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ละติน อย่างละบรรทัด เชื่อว่าน่าจะพิมพ์ขึ้นที่โรงพิมพ์หลวง อักษรพิมพการ ซึ่งทรงเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นที่วัดบวรนิเวศ
ส่วนพระนามบัตรของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีปรากฏอยู่แผ่นเดียว จัดแสดงไว้ที่พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระองค์